Portfolioประวัติส่วนตัว

Portfolioประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัวใน Portfolio
ควรเขียนอะไรบ้างให้น่าสนใจ

Portfolioประวัติส่วนตัว

                เชื่อว่าน้อง ๆ ม.ปลาย หลาย ๆ คนที่กำลังเตรียมตัวเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยก็คงจะยุ่งอยู่กับการทำ Portfolio เพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัยกันทั้งนั้น ในการทำ Portfolio ให้น่าสนใจ โดดเด่น จนกรรมการมีคำถาม หรืออยากจะคุยกับเรา ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และสิ่งที่คณะกรรมการต้องการอยากรู้มากที่สุดใน Portfolio ก็ต้องเป็นประวัติส่วนตัวของน้อง ๆ อย่างแน่นอน แต่การเขียน Portfolioประวัติส่วนตัวให้น่าสนใจ โดดเด่นกว่าคนอื่นได้นั้นก็ไม่ง่ายและไม่ยากเสมอ และในการเขียนประวัติส่วนตัวของ Portfolio ก็จะมี 6 ส่วนสำคัญด้วยกัน ดังนี้

ส่วนที่ 1 Personal Data : ประวัติส่วนตัว

                น้อง ๆ จะต้องเขียนข้อมูลพื้นฐานของตัวเองให้ครบถ้วนอย่างละเอียด เช่น ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น อายุ วันเกิด กรุ๊ปเลือด นิสัย ความชอบส่วนตัว หรืองานอดิเรก และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องเป็นข้อมูลจริงเท่านั้น เพื่อให้Portfolioประวัติส่วนตัวของน้อง ๆ ดูน่าดึงดูดและเป็นที่สนใจแก้อาจารย์คุมสอบมากขึ้น

ส่วนที่ 2 Objective : จุดประสงค์

              ให้เขียนเหตุผลที่เลือกเรียนในคณะ/สาขาที่ต้องการสมัคร โดยให้เน้นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทัศนคติที่มีต่อคณะ/สาขาวิชาและมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่ารู้สึกอย่างไร เพื่อบอกถึงความปรารถนาของเรา ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นสิ่งที่จะแสดงถึงความตั้งใจของเราในความต้องการเรียนคณะที่เราใฝ่ฝัน และอาชีพที่เราอยากจะเป็น เช่น ความสนใจในการเขียนโปรแกรม การเขียนโค้ด การพัฒนาแอปพลิเคชั่น จึงทำให้เกิดความใฝ่ฝันที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์ในอนาคต แต่เส้นทางนั้นจะเป็นจริงไม่ได้เลยถ้าไม่ได้เรียนในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

Portfolioประวัติส่วนตัว

ส่วนที่ 3 Education : ประวัติการศึกษา

                น้อง ๆ สามารถอธิบายประวัติการศึกษาโดยแบ่งเป็น ระดับประถม ระดับมัธยมตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้น หรือจะใช้เทคนิคการอธิบายแบบตาราง เพื่อให้ดูเข้าใจง่ายก็ได้ หากมั่นใจในเกรดเฉลี่ย(GPAX) ของตัวเองว่าในแต่ละปีการศึกษาได้เท่าไรบ้างก็สามารถใส่เข้าไปในส่วนนี้ได้เลย แต่ถ้าต้องการใส่ทรานสคริปแนะนำว่าให้ใส่ในส่วนของภาคผนวกแทน ส่วนชื่อโรงเรียนที่เขียนควรเป็นชื่อโรงเรียนแบบเต็มยศ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อในการทำ Portfolio

ส่วนที่ 4 Skills : ทักษะ ความสามารถ

                หากน้อง ๆ คนไหนมีความสามารถพิเศษ หรือทักษะอื่น ๆ สามารถเขียนลงไปในส่วนนี้ได้เต็มที่ ซึ่งจะช่วยบอกถึงศักยภาพ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของตัวน้อง ๆ เพื่อเป็นข้อได้เปรียบในการพิจารณา เช่น ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ส่วนที่ 5 Activity : กิจกรรม

                ควรเลือกกิจกรรมเด่น ๆ ของเรามาเขียนในส่วนนี้ดีนะครับ โดยการเขียนรายละเอียดย่อ ๆ แนะนำให้เลือกกิจกรรมที่เด่น ๆ มาเขียน ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมที่ด้านวิชาการอย่างเดียว อาจจะเป็น กีฬาสี การแสดงในงานต่าง ๆ งานจิตอาสา การช่วยเหลือหรือบริการสังคมส่วนรวม ก็ได้เหมือนกัน โดยอาจจะเลือกการจัดเรียงแบบระดับชั้นก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย อย่างเช่น เมื่อต้นระดับชั้นมัธยมต้นเคยทำกิจกรรมอะไรบ้าง เป็นต้น

ส่วนที่ 6 Interest : ความสนใจ

                ความชอบและความสนใจของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน การบอกถึงความสนใจในสิ่งต่าง ๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ก็เป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดคณะกรรมการได้ไม่มากก็น้อย แต่แนะนำว่าควรเขียนในสิ่งที่สอดคล้องกับคณะที่น้อง ๆ สมัครจะดีมาก ส่วนใครที่ยังหาสิ่งที่ชอบหรือสิ่งที่สนใจไม่เจอ ลองหากิจกรรมต่าง ๆทำดูก่อน เช่น การวาดภาพระบายสี ถ่ายรูปสถานที่ท่องเที่ยว หรือเล่นดนตรี เป็นต้น บางทีกิจกรรมที่เลือกมานั้นก็อาจจะเป็นช่องทางการค้นพบตัวเองไปในตัวอีกด้วย

แฟ้มสะสมผลงาน

จะทำอย่างไรถ้าไม่มีผลงานมาใส่แฟ้มสะสมผลงานเลย ?

                สำหรับน้อง ๆ บางคนที่ไม่ใช่เด็กกิจกรรม ถือเป็นอีกปัญหาที่จะต้องพบเจอแน่นอน เมื่อถึงเวลาที่จะต้องทำแฟ้มสะสมผลงาน แต่กลับไม่ค่อยมีผลงานที่ใช้ได้เลย จะทำแฟ้มสะสมผลงานแบบโหรงเหรงดูไม่มีอะไรก็ไม่ใช่ ทางที่ดีควรพยายามหาสิ่งที่ใส่ได้มาใส่ให้ได้เยอะที่สุด เช่น เกียรติบัตรตั้งแต่สมัยประถม รูปภาพงานกิจกรรมที่เคยทำร่วมกับเพื่อน ๆ อย่างกีฬาสี งานบุญของโรงเรียน งานปีใหม่ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ฯลฯ หรือจะใช้วิธีการเขียนบรรยายเรื่องราวของเราให้ได้มากที่สุดแทน ซึ่งน่าจะช่วยน้อง ๆ ได้ไม่มากก็น้อย

                จะสังเกตเห็นได้ว่า Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นการทำแฟ้มสะสมผลงานให้ออกมาดูดี น่าสนใจ ก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่การเลือกใช้แฟ้มที่ช่วยให้ Portfolio ของน้อง ๆ ดูดีขึ้น ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะการเลือกใช้แฟ้มที่จะช่วยให้ Portfolio ของน้องดูดีนั้น ต้องเป็นแฟ้มที่แข็งแรง ทนทาน และมีคุณภาพ เหมือนกับแฟ้มตราช้าง รุ่น PF01 แฟ้มเอกสารที่มีปกแฟ้มผลิตจากพลาสติก PP คุณภาพดีหนา 400 ไมครอน มีวิวบายเดอร์พร้อมกระดาษสอด สามารถออกแบบหน้าปกได้ ลิ้นแฟ้มทำจากพลาสติก แข็งแรง ทนทาน ใช้งานก็ง่าย ภายในแฟ้มบรรจุซองอเนกประสงค์จำนวน 10 ซอง สามารถเติมซองได้ มีแถบ Dura Strib หนาพิเศษ ทนทานไม่ยืด มีคุณสมบัติลดแสงสะท้อนถนอมสายตา สามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ที่ร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ

“ แนะนำว่าการเลือกฟอนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญ

ควรเลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย สะอาดสะอ้าน และมองเห็นได้ชัด ”

Portfolioประวัติส่วนตัว

                และทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคง่าย ๆ ในการเขียนประวัติส่วนตัวลงใน Portfolio ที่จะช่วยเพิ่มเสน่ห์ น่าดึงดูดให้กับตัวน้อง ๆ ได้มากขึ้น และการทำ Portfolio จะไม่เสร็จสมบูรณ์แบบแน่นอนถ้าไม่มีแฟ้มสำหรับรวบรวมผลงานของน้อง ๆ โดยน้อง ๆ จะต้องเลือกแฟ้มที่ดี แข็งแรง มีคุณภาพ อย่างแฟ้มตราช้าง แฟ้มตราช้าง รุ่น PF01 แฟ้มเอกสารที่มีปกแฟ้มผลิตจากพลาสติก PP คุณภาพดีหนา 400 ไมครอน มีวิวบายเดอร์พร้อมกระดาษสอด สามารถออกแบบหน้าปกได้ ลิ้นแฟ้มทำจากพลาสติก แข็งแรง ทนทาน ใช้งานก็ง่าย ภายในแฟ้มบรรจุซองอเนกประสงค์จำนวน 10 ซอง สามารถเติมซองได้ มีแถบ Dura Strib หนาพิเศษ ทนทานไม่ยืด มีคุณสมบัติลดแสงสะท้อนถนอมสายตา สะดวกใช้งานแบบนี้ ต้องมีไว้ใช้สักเล่มแล้วล่ะ! สามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ที่ร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ

Portfolioประวัติส่วนตัว

คลิกเลย!

กดสั่งซื้อผ่าน Shopee ได้เลย
กดสั่งซื้อผ่าน Stationerymine ได้เลย

Facebook Comments